บทความและข่าวสาร
หน้าแรก > บทความและข่าวสาร
เหล็กแผ่น ถือเป็นวัสดุหลักอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการใช้ในหลากหลายมิติของงานแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งการนำเหล็กแผ่นไปใช้งานโดยทั่วไปนั้น [...]
เหล็ก 5 ประเภทที่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็ก คือ โลหะผสมของธาตุเหล็ก [...]
เนื่องจากลักษณะภายนอกของเหล็กไอบีม (I-Beam), เหล็กเอชบีม (H-Beam), เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide [...]
เหล็กข้ออ้อย หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า DB ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลาย เช่น เหล็กอ้อย เหล็กบั้ง เหล็กข้อ โดยเหล็กข้ออ้อยจัดอยู่ในประเภทของเหล็กเส้น มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายอ้อย มีครีบและบั้งที่ผิวเหล็ก ซึ่งหน้าที่ของครีบและบั้งคือ ช่วยให้เหล็กยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนมากมักจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมาก ๆ เป็นต้น
จุดสังเกตลักษณะที่ดีของเหล็กข้ออ้อยอยู่ที่พื้นผิวของเหล็ก โดยผิวควรจะเรียบ ไม่ขรุขระ ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง ไม่มีรอยปริแตก ระยะของบั้งต้องสม่ำเสมอเท่ากันตลอดเส้น มีขนาดและรูปร่างที่เหมือนกัน ที่สำคัญเนื้อเหล็กต้องไม่เป็นสนิม
โดยเหล็กข้ออ้อยจะมีหลายขนาดและหลายความสามารถในการรับแรง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้
เหล็กข้ออ้อย มาตรฐาน มอก. 24-2548 เป็นเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กข้ออ้อย ขนาดยู่ที่ 10 – 32 มม. และมีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร, ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 มม. ถึง 40 มม. ความยาว 10 และ 12 เมตร มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ
เหล็กข้ออ้อยSD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
เหล็กข้ออ้อย sd40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
เหล็กข้ออ้อย SD40T คือ เหล็กที่มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร มีธาตุผสมที่น้อยกว่า จึงเป็นตัวที่ส่งผลให้สามารถเชื่อมต่อเหล็กข้ออ้อยได้ง่ายกว่าเหล็กข้ออ้อยธรรมดา